หุ้นกู้อสังหาฯ ทำไมจ่ายดอกเบี้ยสูงจัง น่าลงทุนมั้ย ?

เรามักเห็นหุ้นกู้หลาย ๆ ตัว ที่จ่ายดอกเบี้ยสูง ๆ แต่อันดับเครดิตเรตติ้งต่ำ หรือไม่มีการจัดอันดับเครดิตเรตติ้ง ซึ่งจัดเป็นหุ้นกู้เสี่ยงสูง หรือที่เรียกว่า High Yield Bond โดยเฉพาะในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ แล้วจริง ๆ หุ้นกู้ประเภทนี้น่าลงทุนหรือไม่ และมีปัจจัยเสี่ยงอะไรที่เราต้องทราบก่อนการตัดสินใจลงทุน

วันนี้ Prachachat Wealth เล่าเรื่องการลงทุน มีโอกาสได้ร่วมพูดคุยกับคุณสงวน จุงสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย Investment and Markets Research สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย ไปร่วมรับชมรับฟังกันเลยครับ

Q : ปีนี้ภาคเอกชนระดมทุนหุ้นกู้เว็บหวยออนไลน์ ถูกกฎหมายกันคึกคัก ตุลาคมทะลุ 1 ล้านล้านบาทไปแล้ว ส่วนหนึ่งมีหุ้นกู้เสี่ยงสูงมูลค่ากว่า 8 หมื่นล้านบาท ที่จ่ายดอกเบี้ยสูง ๆ โดยเฉพาะบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ถ้าเราโฟกัสหุ้นกู้อสังหาฯ ทำไมจ่ายดอกเบี้ยสูงครับ แล้วน่าลงทุนไหม ?

นายสงวนเปิดเผยว่า ก่อนอื่นผมอยากจะให้ภาพรวมของหุ้นกู้อสังหาฯไว้ก่อนคือ ปัจจุบันยอดคงค้างของหุ้นกู้ทั้งระบบที่มีอยู่ในประเทศไทย ประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท ในนี้เป็นหุ้นกู้อสังหาฯประมาณ 5 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 11-12% ซึ่งผมคิดว่าไม่ได้เป็นสัดส่วนที่ดูแล้วกระจุกตัวจนเกินไป

คือเรามีบริษัท บริษัทเดียว ที่ออกหุ้นกู้แล้วมียอดคงค้างสูงกว่า 1 แสนล้านบาท เกือบประมาณ 10 บริษัท และมีบางบริษัท ออกหุ้นกู้ 2 แสนล้านบาทก็มี ดังนั้นผมคิดว่าเซ็กเตอร์เรียลเอสเตต เซ็กเตอร์เดียว 5 แสนล้านบาท ไม่ได้กระจุกตัวมากเกินไป

ปัจจุบันจะแบ่งระดับหุ้นกู้เป็น 3 กลุ่ม คือ Investment grade ก็คือจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ AAA ลงมาถึง BBB- อันนี้ถือว่าเป็นอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่ลงทุนได้ ในกลุ่มหุ้นกู้อสังหาฯทั้งหมดอยู่ในกลุ่มนี้ประมาณ 80% ซึ่งก็ถือว่าภาพรวมหุ้นกู้อสังหาฯถือว่ามีความแข็งแรงและลงทุนได้ คิดว่าไม่ได้มีความน่ากังวลอะไร

คราวนี้เรื่องของยีลด์สูงหรือผลตอบแทนสูง มากหรือต่ำ อ้างอิงข้อมูลจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ซึ่งเอาอัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้อายุเฉลี่ยประมาณ 3 ปี ตั้งแต่ช่วงปี 2019 ถึงปัจจุบัน พูดง่าย ๆ คือว่าตั้งแต่ก่อนวิกฤตโควิดจนถึงปัจจุบันนี้ว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

อันดับความน่าเชื่อถือ AAA ถือว่าเป็นหุ้นกู้ที่มีคุณภาพแข็งแรงที่สุด และจะเห็นได้ว่าผลตอบแทนจะต่ำกว่า ต้นทุนการกู้เงินของเขาก็จะต่ำกว่า เราในฐานะผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าอันดับความน่าเชื่อถืออื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันล่าสุดข้อมูลเมื่อวาน (19 ต.ค. 65)

ถ้านักลงทุนลงทุนในหุ้นกู้อันดับความน่าเชื่อถือ AAA ก็น่าจะได้ผลตอบแทนประมาณ 3% คราวนี้ถ้าเป็นอันดับความน่าเชื่อถือ A- ถ้าเป็นนักลงทุนสถาบัน เขาก็จะลงทุนประมาณแค่ 2 ระดับนี้ ส่วนใหญ่จะไม่เลยไปถึงอันดับความน่าเชื่อถือที่ต่ำกว่านี้ ถ้านักลงทุนลงทุนในหุ้นกู้ A- ควรจะได้ผลตอบแทนประมาณ 3.30%

และสุดท้ายระดับ BBB+ ส่วนใหญ่จะอยู่ในมือนักลงทุนบุคคลธรรมดาหรือรายย่อย ซึ่งในวันนี้ควรจะได้ผลตอบแทนประมาณอยู่ในช่วง 4-4.5% ทั้งนี้ต้องเรียนว่ายีลด์หรืออัตราผลตอบแทนสูงไม่ได้อยู่ที่ความเป็นเซ็กเตอร์อสังหาฯ อยู่ที่อันดับความน่าเชื่อถือของตัวบริษัท และอยู่ที่ความเสี่ยงของตัวบริษัทผู้ออกหุ้นกู้เป็นสำคัญ

Q : เชื่อว่าหลาย ๆ คนยังมองปัจจัย “ดอกเบี้ยหุ้นกู้” เป็นหลัก อยากให้แนะนำนักลงทุนว่าก่อนตัดสินใจลงทุนหุ้นกู้ทุกครั้ง ต้องดูความเสี่ยงหรือปัจจัยอะไรประกอบการตัดสินใจลงทุนบ้าง ?

นายสงวนกล่าวต่อว่า ผมคิดว่ามี 2 เรื่อง เรื่องแรกคือว่า ก่อนที่เราจะลงทุน เราต้องรู้จักตัวเองก่อนว่าตัวเราเองเหมาะสำหรับการรับความเสี่ยงได้แค่ไหน อีกประการหนึ่งก็คือรู้จักตัวบริษัทที่เราไปลงทุน อันนี้สำคัญ คือการเลือกหุ้นกับการเลือกหุ้นกู้ไม่เหมือนกันซะทีเดียว การเลือกหุ้นเน้นไปที่คุณภาพกำไรหรือการเติบโตของกำไร หรือว่าบริษัทมีสตอรี่ที่อาจจะหวือหวา แต่การเลือกหุ้นกู้จะเน้นไปที่ความสามารถในการชำระคืน ไม่ได้ต้องการความหวือหวาอะไร

อัตราส่วนทางการเงินจะมุ่งเน้นไปที่อัตราส่วนประเภท เช่น อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) หรือว่าอัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) หรืออัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ (Debt Service Coverage Ratio) ซึ่งก็จะพิจารณาถึงกระแสเงินสดที่เข้ามาในบริษัทและเทียบกับภาระดอกเบี้ยจ่าย รวมทั้งเงินต้นถึงกำหนดชำระใน 1 ปีข้างหน้า เป็นต้น แต่ว่าความยากทั้งหลายทั้งปวงก็จะง่ายขึ้น ถ้าเราใช้บริการของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ

Q : แน่นอนว่าเศรษฐกิจที่ยังไม่ได้ฟื้นตัวเต็มที่ เราเห็นความสามารถในการชำระหนี้หรือว่าสัญญาณการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ของภาคเอกชนมากขึ้นไหม ?

นายสงวนกล่าวอีกว่า ลองดูลักษณะสถิติการ Upgrade กับ Downgrade เทียบกันว่าในแต่ละปีปฏิทินมีการ Upgrade หรือ Downgrade คิดเป็นสัดส่วนมากน้อยแค่ไหนอย่างไร ถ้าดูในปี 2019 ก่อนโควิด การ Upgrade กับ Downgrade อันดับความน่าเชื่อถือนี้ก็จะค่อนข้างเท่า ๆ กันในภาวะปกติ แต่พอเข้าสู่ปี 2020 วิกฤตโควิดโจมตีเข้ามา สัดส่วนการ Downgrade สูงกว่า Upgrade ประมาณ 4-5 เท่าเลย ชี้ให้เห็นชัดเจนเลยครับว่าความเสี่ยงของทั้งระบบมีความเสี่ยงมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปี 2021 เรายังไม่พ้นวิกฤตซะทีเดียว แต่ตัวเลขการ Downgrade ต่อ Upgrade เริ่มลดลงมาแล้ว จากที่เคยสูง 4-5 เท่า ก็เหลือประมาณ 2-3 เท่า และล่าสุดในปีนี้ ประมาณเกือบ 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) ตัวเลขเหมือนจะกลับเข้ามาใกล้ ๆ กันอีกแล้ว เหมือนกับช่วงก่อนวิกฤตโควิด

“อันนี้ก็เป็นดัชนีชี้วัดตัวหนึ่งที่เอามาพิจารณาได้ว่า โดยภาพรวมตลาดหุ้นกู้บ้านเราความเสี่ยงค่อย ๆ ปรับลดลงหลังจากวิกฤตโควิดเป็นต้นมา ส่วนหนึ่งคือว่าบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ พูดง่าย ๆ เขาสายป่านยาว”

Q : สุดท้ายมีมุมมองต่อบริษัทอสังหาฯในเมืองไทยในปัจจุบันอย่างไรบ้าง ?

นายสงวนกล่าวทิ้งท้ายว่า เวลาเราพูดถึงบริษัทอสังหาฯ ต้องย้อนความว่าถ้าทุกท่านจำกันได้ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งในช่วงปี 2539-2540 เซ็กเตอร์ที่เปราะบางอย่างยิ่งสำหรับเศรษฐกิจไทยก็คือเซ็กเตอร์อสังหาฯ มีลักษณะฟองสบู่ มีการกู้ยืมเงินเรียกว่ามากเกินตัว พอเกิดวิกฤตเข้ามาตั้งรับกันไม่ทัน และสุดท้ายมีปัญหาในการชำระคืนหนี้ ลุกลามกลายเป็นวิกฤตสถาบันการเงินในช่วงนั้น

แต่พอวิกฤตค่อย ๆ ซาลงมา บริษัททั้งหลายมีการปรับโครงสร้างหนี้กันขนานใหญ่ มีความระมัดระวังในการบริหารจัดการมากขึ้น การกู้เงินมีความระมัดระวัง รวมทั้งมีการบริหารความเสี่ยง และที่สำคัญเลยก็คือรักษาสัญญา ทำได้บอกทำได้ ทำไม่ได้บอกทำไม่ได้ อันนี้สำคัญ ทำให้สถาบันการเงินและตลาดทุนให้ความเชื่อใจ

แล้วพอผ่านวิกฤต บริษัทอสังหาฯจำนวนมากค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นมาผ่านพ้นวิกฤตซับไพรมในช่วงปี 2008-2009 มาได้โดยไม่มีปัญหา ขยายตัว ได้รับการปรับอันดับความน่าเชื่อถือจนถึงปัจจุบัน ผ่านมา 20 กว่าปีถือว่าบริษัทอสังหาฯได้เปลี่ยนโฉมไปพอสมควรเลย และผ่านวิกฤตโควิดมาได้โดยแทบจะไม่มีการ Downgrade เลย

ทั้งนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีว่าอุตสาหกรรมทั้งหมดมีมาตรฐานการบริหารจัดการ ซึ่งทำให้ตลาดทุนและนักลงทุนเชื่อมั่น และอยากให้ภาคเอกชนไทยเป็นแบบนี้ เพื่อให้นักลงทุนได้ลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทแบบสบายใจกันไปยาว ๆ

เรามักเห็นหุ้นกู้หลาย ๆ ตัว ที่จ่ายดอกเบี้ยสูง ๆ แต่อันดับเครดิตเรตติ้งต่ำ หรือไม่มีการจัดอันดับเครดิตเรตติ้ง ซึ่งจัดเป็นหุ้นกู้เสี่ยงสูง หรือที่เรียกว่า High Yield Bond โดยเฉพาะในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ แล้วจริง ๆ หุ้นกู้ประเภทนี้น่าลงทุนหรือไม่ และมีปัจจัยเสี่ยงอะไรที่เราต้องทราบก่อนการตัดสินใจลงทุน วันนี้ Prachachat Wealth เล่าเรื่องการลงทุน มีโอกาสได้ร่วมพูดคุยกับคุณสงวน จุงสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย Investment and Markets Research สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย ไปร่วมรับชมรับฟังกันเลยครับ Q : ปีนี้ภาคเอกชนระดมทุนหุ้นกู้เว็บหวยออนไลน์ ถูกกฎหมายกันคึกคัก ตุลาคมทะลุ 1 ล้านล้านบาทไปแล้ว ส่วนหนึ่งมีหุ้นกู้เสี่ยงสูงมูลค่ากว่า 8 หมื่นล้านบาท ที่จ่ายดอกเบี้ยสูง ๆ โดยเฉพาะบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ถ้าเราโฟกัสหุ้นกู้อสังหาฯ ทำไมจ่ายดอกเบี้ยสูงครับ แล้วน่าลงทุนไหม ? นายสงวนเปิดเผยว่า ก่อนอื่นผมอยากจะให้ภาพรวมของหุ้นกู้อสังหาฯไว้ก่อนคือ ปัจจุบันยอดคงค้างของหุ้นกู้ทั้งระบบที่มีอยู่ในประเทศไทย ประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท…