3 สมาคมอสังหาฯ พร้อม 15 ภูมิภาค-หอการค้าไทย เร่งตกผลึกจ่อแถลงแจงเงื่อนไข ‘ต่างชาติซื้อที่ดิน’

ลายเป็นชนวนปัญหาที่ใหญ่ หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบ “มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย” ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ โดยในส่วนของกระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้รับการมอบหมายให้พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวใหม่ (Long – term resident visa : LTR) แก่กลุ่มของชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง 4 กลุ่ม (พิจารณาตารางประกอบ)

โดยประเด็นที่ “ร้อนจนทะลุปรอทแตก” คงหนีไม่พ้นเรื่องที่ ครม. อนุมัติให้มีการศึกษาแนวทางการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิในการถือครองที่ดินของคนต่างชาติ (มีสิทธิซื้อบ้านและที่ดินไม่เกิน 1 ไร่) เพื่อเป็นแรงจูงใจให้มีการนำเงินมาลงทุนในประเทศไทย

จะเห็นได้ว่า ในประเด็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการดึงกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งเข้าจะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนต่อภาคเศรษฐกิจและต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยได้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่นักลงทุนเว็บหวยออนไลน์ ถูกกฎหมายจากทั่วโลกให้ความสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มชาวจีน ที่ในช่วงที่ผ่านมา มีการเข้ามาลงทุนซื้อโครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่า ผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์บางส่วนที่เอานโยบายดังกล่าวต่างออกมา “หนุน” การปลดล็อกให้ต่างชาติได้มีสิทธิในบ้านและที่ดิน เพื่อดึงเงินลงทุนเข้ามา

ขณะที่ในมิติของการเมืองแล้ว ประเด็นดังกล่าวถูกขย่มด้วยวาทกรรม “ขายชาติ” หรือ “ยกแผ่นดินให้ต่างชาติ” พุ่งเป้าโจมตีรัฐบาล ซึ่งล่าสุด “มือกฎหมาย” นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ระบุว่า “แม้ ครม.จะมีมติอนุมัติในหลักการไปแล้ว แต่สามารถทบทวนร่างกฎกระทรวงดังกล่าวได้ ” ถือว่าเป็นคำตอบที่พอจะบ่งชี้ได้ว่า ประเด็นดังกล่าวอาจจะถูกปรับให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการห้ามขายต่อ การกำหนดมูลค่าในแต่ละส่วนของบ้านและที่ดิน เป็นต้น

 

เครื่องบ่งชี้เศรษฐกิจไทยปี 66 เริ่มแผ่ว

นายมีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวถึงภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ว่า มาตรการของรัฐ จะมีผลต่อจิตวิทยาของผู้ซื้อ ซึ่งกรณีการไม่ต่อมาตรการผ่อนคลาย LTV คาดว่าจะกระทบต่อจิตวิทยาไปถึงต้นปี 2566 ในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานได้ส่งผลกระทบอยู่แล้วกับกำลังซื้อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ย หนี้ภาคครัวเรือน ภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแต่ข่าวลบตลอด ทำให้ทุกคนชะลออยู่แล้ว และการที่ ธปท.ไม่ต่อเรื่อง LTV จะกลายเป็นการซ้ำเติม

“ระยะสั้นกระทบแน่นอน แต่ระยะยาวต้องไปดูเรื่องภาคเศรษฐกิจ ข้อมูลพื้นฐานทุกตัวที่จะบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจ ถ้าข้อมูลออกมา พอไปได้ดี ซึ่งในปีนี้เรามองว่าภาคส่งออกยังเติบโต แต่ปี 66 ชะลอตัวแน่ เพราะคู่ค้าสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นฝั่งของยุโรป และสหรัฐฯ ที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย กำลังซื้ออ่อนตัวแน่นอน ส่งออกจะเติบโตขึ้นระดับร้อยละ 1-2 ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ภาวะอสังหาฯ น่าจะหนัก แต่ยังมีปัจจัยสภาพคล่องในระบบของธนาคารที่ยังเหลืออยู่ ตรงนี้ต้องดูกลไกของแต่ละธนาคารจะเล่นได้ตัวเอง อยู่ที่เทคนิคของแต่ละแบงก์ ตอนนี้แบงก์โฟกัสกลุ่มที่มีรายได้มั่นคง ส่วนใหญ่เป็นระดับบน สินเชื่อที่ปล่อยส่วนใหญ่จะเป็นกลางถึงบน เป็นกลุ่มที่มาแรง และได้ผล ผู้ประกอบการที่จับตลาดระดับบนก็ได้ผลดี”

 

3 สมาคมอสังหาฯ พร้อม 15 อสังหาฯ ภูมิภาค เร่งตกผลึก
แจงแนวทางอสังหาฯ ขับเคลื่อน ศก.-ปมต่างชาติซื้อที่ดิน

นายมีศักดิ์ กล่าวยอมรับว่า เศรษฐกิจปี 2566 น่าจะเข้าสู่ภาวะ “ยากลำบาก” จากสถานการณ์ที่จะถูกกระทบจากเศรษฐกิจภูมิภาคต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นยุโรป สหรัฐฯ และจีน ซึ่งประเทศไทยคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเรามามองว่าจะมีเครื่องมืออะไรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ เรามองว่า “อสังหาฯ” น่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนได้ แต่เงื่อนไขที่เราเสนอทางภาครัฐ ไม่ใช่ที่ประกาศออกมาให้มีการนำเงินเข้ามาลงทุน 40 ล้าน กับสิทธิถือครองที่ดิน 1 ไร่

“เรากลับมองว่าน่าจะให้คนต่างชาติเข้ามาอยู่ระยะยาวเพื่อเข้ามาจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ เกิดการหมุนเวียนในระบบ จะส่งถึงครัวเรือนโดยตรง ถ้าเป็นเช่นนี้เราไม่จำเป็นต้องไปอิงหลักเกณฑ์ของร่างกฎกระทรวงที่ประกาศก่อนหน้านี้ แต่เรามองให้คนต่างชาติ ซื้อบ้านที่พออยู่ โดยใช้เงิน บ้านที่ซื้ออยู่ในโครงการบ้านจัดสรร สามารถควบคุมได้ ซื้อภายใต้เงื่อนไขที่ภาครัฐกำหนดชัดเจน และเข้ามาอยู่ ยังมีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ดูแล อยู่อาศัยเท่านั้น ไม่ใช่ทำธุรกิจเพื่อแข่งกับคนไทย ต่างกับถ้าซื้อ 1 ไร่ ถ้าเกิดรวมกันไปซื้อที่ดินทองหล่อ 5 คน 5 ไร่เป็นแปลงใหญ่ขึ้นมา อันนี้ก็เข้าข่ายถูกโจมตี ตรงนี้ในทางปฏิบัติ ภาครัฐไม่สามารถเข้าไปดูแลรายละเอียดได้”

นายมีศักดิ์ กล่าวยอมรับ ทาง 3 สมาคมอสังหาฯ ได้แก่ สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมบ้านจัดสรร และสมาคมอาคารชุดไทย พร้อมกับ 15 สมาคมอสังหาฯ ที่เป็นภาคีในภูมิภาค และตัวแทนหอการค้าไทย จะมีการแถลงข่าวในประเด็นเรื่องการให้ต่างชาติเข้ามาซื้อที่ดิน 1 ไร่ กับแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยภาคอสังหาฯ จะมีแนวทางอย่างไร ประโยชน์ที่ได้ ชี้แจงเรื่องความกังวลที่ต่างชาติจะมาครอบงำประเทศไทย รวมถึงเรื่องการป้องกันผลกระทบจะมีมาตรการอย่างไรบ้าง ซึ่งเรามีประชุมมาอย่างต่อเนื่อง และจะมีการประชุมอีกครั้ง และคาดว่าเมื่อได้ข้อสรุปจะมีการแถลงข่าว

“ตอนนี้เราได้ข้อสรุปเบื้องต้น แต่ยังไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ เราคิดว่าเปิดให้ต่างชาติซื้อที่อยู่อาศัยในโครงการจัดสรรในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 49 ซึ่งเหมาะสมกับบางพื้นที่ แต่บางพื้นที่ต่อให้กำหนดสัดส่วนให้ ก็ไม่มีต่างชาติไปซื้อ เช่น โซนรังสิต สิทธิในการโหวต เราจะให้คนต่างชาติแค่ครึ่งเสียง หรืออย่างมากแค่ร้อยละ 24 ซึ่งไม่มีผลต่อนิติบุคคล เพราะไม่ถึง 3 ใน 4 ในการขอให้มีการเปิดประชุมได้ ปกติแล้ว ในนิติบุคคลต้องมีเสียงอย่างน้อย 1 ใน 4 ที่สามารถยื่นเรื่องเปิดประชุมหรือคัดค้านต่างๆ ได้”

รวมถึงมีการกำหนดราคาอ้างอิงตามข้อมูลระดับราคาที่คนต่างชาติซื้อไม่ถูกต้อง ผ่านบริษัทจดทะเบียน (นอมินี) ขึ้นมา เช่น ในตลาดต่างจังหวัดไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่ใช่ข้อสรุป เพราะมีการพูดคุยไปบางกลุ่ม และต้องหารือกับบางกลุ่ม

นายมีศักดิ์ กล่าวว่า คนต่างชาติที่จะเข้ามาอยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรร ต้องอยู่ร่วมกับคนไทยได้ (Mix) มีการกลืนกัน ซึ่งเราเป็นประเทศเดียวที่มีคนต่างชาติอาศัยรวมกับคนไทยได้ ในหลายๆ ประเทศจะอยู่กันเป็นกลุ่มกัน

 

ต่างชาติไม่ทิ้งดาวน์ ดันโอนห้องชุด Q2 โต 15.1%

ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยถึงการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติ ไตรมาส 2 ปี 2565 มีจำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ 2,326 หน่วย เพิ่มขึ้น 15.1% มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 12,114 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.9% และเป็นพื้นที่โอนกรรมสิทธิ์ 109,486 ตร.ม. เพิ่มขึ้น 27.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งยอดการโอนกรรมสิทธิ์ในไตรมาส 2 นี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงเกิด COVID-19 และเป็นการเพิ่มขึ้นในเชิงจำนวนหน่วยสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาสที่ผ่านมา และ เพิ่มขึ้นในมูลค่าและพื้นที่สูงสุดในรอบ 6 ไตรมาส

อสังหาฯ มองข้ามช็อต ขยับเพิ่มพอร์ตบ้าน-คอนโดฯ หรูรอ

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บล.เอเซีย พลัส เชื่อว่า แรงขับเคลื่อนจากการเปิดประเทศ และการปลดล็อกให้คนต่างชาติสามารถซื้อที่อยู่อาศัยข้างต้นจะทำให้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และขยายวงกว้างสู่สินค้าแนวราบ จากก่อนหน้านี้ที่ชาวต่างชาติให้ความสนใจคอนโดฯ เป็นส่วนใหญ่

“หากพิจารณาประเด็นบวกดังกล่าว รวมกับเงื่อนไขที่กำหนดให้คนต่างชาติต้องมีการลงทุนไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท ทำให้ผู้ประกอบการที่ได้ประโยชน์มากสุด คือ กลุ่มที่มีพอร์ตสินค้าระดับบน หรือกลุ่มโครงการไฮเอนด์ โดยเฉพาะแนวราบ เพราะเป็นเป้าหมายของลูกค้าชาวต่างชาติ”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้ก่อนหน้านี้รัฐบาลจะไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการให้สิทธิต่างชาติได้มีที่ดินนั้น ผู้ประกอบการไทยและเทศต่างมีการรุกขยายพอร์ตโครงการระดับบนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนที่มีฐานะ มีความสามารถในการเลือกและหาที่อยู่อาศัยหลังใหม่ หรือหลังที่สอง รวมถึงกลุ่มชาวต่างชาติที่มองหาบ้านระดับไฮเอนด์ ซึ่งทำเลที่ต่างชาติให้ความสนใจ เช่น โซนพระราม 9 บางนา-ตราด และกรุงเทพกรีฑาตัดใหม่ ที่มีบิ๊กอสังหาฯ แห่ไปพัฒนาโครงการบ้านหรูจำนวนมาก

ที่ชัดเจน ได้แก่ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) อสังหาฯ ที่เน้นพัฒนาทำโครงการบ้านหรู เริ่มเคลื่อนไหวรับกับโมเมนตัมจากการปลดล็อกให้ต่างชาติมีสิทธิในที่ดิน 1 ไร่ โดยนายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ กล่าวว่า ต้องปรับแผนธุรกิจในปีหน้าให้รับแนวนโยบายดังกล่าว เพิ่มสัดส่วนโครงการบ้านลักชัวรีระดับ 30-100 ล้านบาทขึ้นไปมากขึ้น เน้นในทำเลใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ รามคำแหง เป็นต้น

เช่น บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ที่โครงการ “นาราสิริ กรุงเทพกรีฑา” มูลค่าโครงการ 6,000 ล้านบาท สร้างประวัติศาสตร์โครงการบ้านลักชัวรีระดับราคา 50-100 ล้านบาท ปิดการขายโครงการได้เร็วที่สุดภายใน 1 เดือน หรือ “เศรษฐสิริ-บุราสิริ” ระดับราคา 8-20 ล้านบาท มียอดขายล่าสุดกว่า 4,800 ล้านบาท เป็นต้น

บริษัท พราว เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) กลยุทธ์จะเน้นพัฒนาโครงการระดับลักชัวรี เพราะบริษัทยังมองว่ากลุ่มลูกค้าระดับบนที่มีกำลังซื้อสูงยังเป็นกลุ่มเรียลดีมานด์ที่มองหาโอกาสในการซื้ออสังหาฯ ที่มีศักยภาพต่อเนื่อง และไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจ โดยครึ่งปีหลังเปิดขาย 2 โครงการอสังหาฯ ระดับบน มูลค่ารวม 4,407 ล้านบาท รวมถึงโครงการในซีบีดี ที่ดินแปลงซอยคอนแวนต์ สีลม ตรงข้ามโรงพยาบาลบีเอ็นเอช พื้นที่ 1.5 ไร่ ในราคา 1.7 ล้านบาทต่อตารางวา พัฒนาเป็นคอนโดฯ หรู มูลค่า 3,900 ล้านบาท

 

กางข้อมูล “4 กลุ่มมั่งคั่ง” กว่าพันรายยื่นขอ LTR Visa

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา หลังจากที่รัฐบาลอนุญาตให้ชาวต่างชาติสามารถยื่นขอวีซ่าระยะยาว (Long – Term Resident Visa) หรือ “LTR Visa” ในประเทศไทยได้

ข้อมูลล่าสุด จากการรายงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้รายงานจำนวนของผู้ขอยื่นขอใบสมัคร LTR Visa ณ วันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 1,158 ราย

โดยแยกตาม 4 กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพสูง ดังนี้

1.กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูง คือ มีทรัพย์สินมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์ต่อปี และลงทุนในไทยไม่น้อยกว่า 5 แสนดอลลาร์ มีผู้ยื่นใบสมัครแล้ว 88 คน คิดเป็น 8%

2.ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ คือ มีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์ต่อปี กรณีรายได้ต่ำกว่าที่กำหนด ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 250,000 ดอลลาร์ ในพันธบัตรรัฐบาลหรืออสังหาริมทรัพย์ โดยมีผู้สมัครเข้ามาแล้ว 430 คน คิดเป็น 37%

3.ผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย คือ มีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์ต่อปี กรณีรายได้ต่ำกว่าที่กำหนด ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป หรือครอบครองทรัพย์สินทางปัญญา หรือได้รับเงินทุน Series A โดยในกลุ่มนี้มีผู้สมัครเข้ามาแล้ว 366 คน คิดเป็น 32%

4.ผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องมีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์ต่อปี กรณีรายได้ต่ำกว่าที่กำหนด ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไปในสาขาวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี หรือมีความเชี่ยวชาญในสายงานที่เข้ามาทำในประเทศไทย ในกลุ่มนี้มีผู้สมัครมาแล้ว 160 คน คิดเป็น 14%

ที่เหลือเป็นการยื่นขอใบสมัครของคู่สมรส และบุตรของผู้ที่ต้องการทำงานและพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทย โดยมีคนที่ยื่นใบสมัครวีซ่าในส่วนนี้ 144 คน คิดเป็น 14% (ตาราง : ชาวต่างชาติ 5 อันดับแรกที่ยื่นขอวีซ่าระยะยาว)

กรมที่ดินแจงชัด ตั้งแต่ปี 45 มีได้สิทธิแค่ 8 ราย

ขณะที่กรมที่ดินได้ออกเอกสารชี้แจงเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวง การได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ซึ่งขณะนี้ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ยังต้องผ่านขั้นตอนการตรวจพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน

“การให้สิทธิในการถือครองที่ดินจำกัดเฉพาะการใช้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยรายละไม่เกิน 1 ไร่ หากได้รับสิทธิครบ 1 ไร่แล้ว ต่อมาได้มีการขายที่ดินไปทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน แม้จะมีการลงทุนเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดจะไม่สามารถขอใช้สิธิดังกล่าวได้อีก ทั้งนี้ หากชาวต่างชาติรายใดไม่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งให้จัดการจำหน่ายที่ดินนั้นได้”

สำหรับข้อมูลคนต่างชาติที่ขอใช้สิทธิถือครองที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยตามกฎกระทรวง พ.ศ.2545 และยังใช้อยู่จนถึงขณะนี้มีจำนวนรวม 8 ราย โดยแต่ละรายใช้สิทธิไม่เกิน 1 ไร่

สรุป แค่ยกแรกของการอนุมัติร่างกฎกระทรวงให้ต่างชาติซื้อบ้านพร้อมที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ ก็เอาวุ่นวายไปทั่ว ฝ่ายเชียร์ก็ลุยสุดลิ่ม ฝ่ายต้านก็พร้อมลงถนน แต่สุดท้ายแล้ว เราต้องมองในหลักความเป็นจริงว่ายังเป็นแค่รับร่างกฎกระทรวง ซึ่งต้องรอชมกันต่อไปว่า หน่วยงานอย่างเช่น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา “จะแทง” ความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวอย่างไร และเมื่อเข้าสู่ ครม.แล้ว ก็ต้องวัดกันว่า “รัฐบาล” จะหยุด หรือเดินหน้าต่อ แต่ทั้งหมดต้องมอง ‘ผลประโยชน์ของคนในชาติ’ เป็นใหญ่ รวมถึงเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่จะเข้ามาหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ จะเป็นไปตามเป้าที่วางไว้หรือไม่ นั่นคือคำตอบที่ต้องชัดเจน

ลายเป็นชนวนปัญหาที่ใหญ่ หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบ “มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย” ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ โดยในส่วนของกระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้รับการมอบหมายให้พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวใหม่ (Long – term resident visa : LTR) แก่กลุ่มของชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง 4 กลุ่ม (พิจารณาตารางประกอบ) โดยประเด็นที่ “ร้อนจนทะลุปรอทแตก” คงหนีไม่พ้นเรื่องที่ ครม. อนุมัติให้มีการศึกษาแนวทางการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิในการถือครองที่ดินของคนต่างชาติ (มีสิทธิซื้อบ้านและที่ดินไม่เกิน 1 ไร่) เพื่อเป็นแรงจูงใจให้มีการนำเงินมาลงทุนในประเทศไทย จะเห็นได้ว่า ในประเด็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการดึงกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งเข้าจะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนต่อภาคเศรษฐกิจและต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยได้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่นักลงทุนเว็บหวยออนไลน์ ถูกกฎหมายจากทั่วโลกให้ความสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มชาวจีน ที่ในช่วงที่ผ่านมา มีการเข้ามาลงทุนซื้อโครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่า ผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์บางส่วนที่เอานโยบายดังกล่าวต่างออกมา “หนุน” การปลดล็อกให้ต่างชาติได้มีสิทธิในบ้านและที่ดิน เพื่อดึงเงินลงทุนเข้ามา ขณะที่ในมิติของการเมืองแล้ว ประเด็นดังกล่าวถูกขย่มด้วยวาทกรรม “ขายชาติ” หรือ “ยกแผ่นดินให้ต่างชาติ” พุ่งเป้าโจมตีรัฐบาล…