เวิลด์แบงก์หั่นจีดีพีไทยเหลือ 2.9% หนี้ครัวเรือน 90% กดดันบริโภค

ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์จีดีพีไทยปีนี้เหลือ 2.9% จากคาดการณ์เดือนมกราคมอยู่ที่ 3.9% เผยสงครามยูเครนส่งผลกระทบ “การส่งออก-การบริโภค” ชี้กรณีเลวร้ายอาจโตแค่ 2.6% ส่งสัญญาณเตือน “หนี้ครัวเรือน” 90% ของจีดีพี กดดันการบริโภคในประเทศระยะยาว

นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลก (World Bank) ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า จากรายงานตามติดเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ไตรมาสแรกของปี 2565 ธนาคารโลกได้ปรับลดประมาณการจีดีพีไทยในปีนี้ลงเหลือ 2.9% อ้างอิงจากการประเมินปัจจัยที่เป็นสถานการณ์ปกติ (base case)

โดยมีประเด็นความเสี่ยงจากสถานการณ์ยูเครน ที่กระทบต่อราคาพลังงาน ซึ่งไทยพึ่งพิงการนำเข้าพลังงานสูงถึง 4.5% ของจีดีพี ปัจจัยด้านพลังงานนี้จะส่งต่อไปสู่ภาคครัวเรือน ที่จะกระทบต่อการบริโภคของกลุ่มคนรายได้น้อย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูงเกือบ 50% ของรายได้

ผลกระทบจากพลังงานยังทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวฟื้นตัว เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้การนำเข้า-ส่งออกของไทยชะลอตัวตาม ประกอบกับเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญของไทยที่เริ่มอ่อนแอ หากผลกระทบรุนแรงขึ้นหรือยืดเยื้อกว่าคาด และหากมาตรการภาครัฐส่งผลต่อการใช้จ่ายได้ต่ำกว่าที่คาด

นอกจากนี้ เวิลด์แบงก์ยังคาดการณ์ถึงกรณีเลวร้าย (low case) ของจีดีพีไทย อาจเติบโตเพียง 2.6% หรืออาจต่ำกว่านั้น ภายใต้สมมุติฐานที่ว่าสงครามยูเครนยืดเยื้อและกระทบต่อตลาดการเงิน รวมถึงมาตรการทางการคลังที่ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจน้อยกว่าที่ประเมิน ถ้าแรงส่งนี้ไม่มีประสิทธิภาพก็ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าที่คาด

“ผลกระทบจากสงครามยูเครน จะส่งผ่านมาทางราคาพลังงาน ทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น ซึ่งเป็นต้นทุนที่กระทบการบริโภคภาคเอกชน ราคาพลังงานโดยรวมที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยกดดันต่อการขยายตัวเศรษฐกิจโลก รวมทั้งทำให้แนวโน้มการส่งออกไทย การบริโภคในประเทศ และการลงทุนได้รับผลกระทบเช่นกัน”

ในแง่นโยบายการเงิน เวิลด์แบงก์ประเมินว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังจะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.5% เพื่อพยุงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคครัวเรือนที่ปัจจุบันมีหนี้ครัวเรือนในระดับที่สูงมากราว 90% ของจีดีพี

โดยธนาคารโลกมองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะเป็นแบบ “ค่อยเป็นค่อยไป” แต่ละภาคอุตสาหกรรมจะกลับมาฟื้นตัวไม่เท่ากัน อาทิ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ขณะนี้กลับมาฟื้นตัวสูงกว่าก่อนเกิดโควิดแล้ว ทว่าภาคการท่องเที่ยวยังคงอ่อนแอแม้ไทยจะผ่อนคลายการเดินทางเข้าประเทศ

“ธนาคารโลกมองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างอ่อนแอ ยังจำเป็นที่ ธปท.ต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ”

มาตรการภาครัฐจำเป็น แต่ต้องโฟกัสกลุ่มเป้าหมาย
ธนาคารโลกแนะว่า มาตรการเยียวยาของภาครัฐยังมีความจำเป็น แต่ควรเป็นมาตรการที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นในกลุ่มที่มีความเปราะบาง และผู้ที่ได้รับผลกระทบสูง แม้ว่าภาครัฐจะยังมีพื้นที่ทางการคลังในการดำเนินนโยบายเยียวยาต่าง ๆ แต่ก็แคบลง

เนื่องจากปัจจุบันหนี้สาธารณะอยู่ที่ราว 60% ของจีดีพี จากเพดานที่ 70% ดังนั้นรัฐบาลควรปฏิรูปการจัดเก็บรายได้ในอนาคตไปพร้อม ๆ กัน รวมถึงการดำเนินนโยบายปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มเติม เนื่องจากไทยมีหนี้ครัวเรือนสูงเกือบ 90% ของจีดีพี ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันการบริโภคในประเทศระยะยาว

อย่างไรก็ดี เวิลด์แบงก์ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัว จากการเปิดรับนักท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าปีนี้ไทยจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 6.2 ล้านคน แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับก่อนโควิด ขณะที่ตลาดใหญ่อย่างนักท่องเที่ยวจีนยังคงไม่เข้าไทยในปีนี้ เนื่องจากนโยบายโควิดซีโร่ ปัจจัยหนุนการท่องเที่ยวอีกด้านคือ แนวโน้มการผ่อนคลายข้ามแดนของไทย การผ่อนล็อกดาวน์ ที่หนุนการบริโภคและกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น

อ้างอิง
https://www.prachachat.net/finance

ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์จีดีพีไทยปีนี้เหลือ 2.9% จากคาดการณ์เดือนมกราคมอยู่ที่ 3.9% เผยสงครามยูเครนส่งผลกระทบ “การส่งออก-การบริโภค” ชี้กรณีเลวร้ายอาจโตแค่ 2.6% ส่งสัญญาณเตือน “หนี้ครัวเรือน” 90% ของจีดีพี กดดันการบริโภคในประเทศระยะยาว นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลก (World Bank) ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า จากรายงานตามติดเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ไตรมาสแรกของปี 2565 ธนาคารโลกได้ปรับลดประมาณการจีดีพีไทยในปีนี้ลงเหลือ 2.9% อ้างอิงจากการประเมินปัจจัยที่เป็นสถานการณ์ปกติ (base case) โดยมีประเด็นความเสี่ยงจากสถานการณ์ยูเครน ที่กระทบต่อราคาพลังงาน ซึ่งไทยพึ่งพิงการนำเข้าพลังงานสูงถึง 4.5% ของจีดีพี ปัจจัยด้านพลังงานนี้จะส่งต่อไปสู่ภาคครัวเรือน ที่จะกระทบต่อการบริโภคของกลุ่มคนรายได้น้อย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูงเกือบ 50% ของรายได้ ผลกระทบจากพลังงานยังทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวฟื้นตัว เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้การนำเข้า-ส่งออกของไทยชะลอตัวตาม ประกอบกับเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญของไทยที่เริ่มอ่อนแอ หากผลกระทบรุนแรงขึ้นหรือยืดเยื้อกว่าคาด และหากมาตรการภาครัฐส่งผลต่อการใช้จ่ายได้ต่ำกว่าที่คาด นอกจากนี้ เวิลด์แบงก์ยังคาดการณ์ถึงกรณีเลวร้าย (low case) ของจีดีพีไทย อาจเติบโตเพียง 2.6% หรืออาจต่ำกว่านั้น ภายใต้สมมุติฐานที่ว่าสงครามยูเครนยืดเยื้อและกระทบต่อตลาดการเงิน รวมถึงมาตรการทางการคลังที่ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจน้อยกว่าที่ประเมิน ถ้าแรงส่งนี้ไม่มีประสิทธิภาพก็ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าที่คาด “ผลกระทบจากสงครามยูเครน…